April 19, 2024
ที่มาของภาพ,HUNAN PROVINCE MUSEUM คำบรรยายภาพ,ตำราแพทย์ยุคราชวงศ์ฮั่นที่เขียนด้วยน้ำหมึกบนผ้าไหม ให้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของการฝังเข็ม ทีมนักกายวิภาคศาสตร์และนักโบราณคดีจากสหราชอาณาจักรค้นพบว่า บางส่วนของตำราแพทย์จีนโบราณที่เขียนบนผ้าไหมหลายผืน ซึ่งถูกพบในสุสานของครอบครัวขุนนางราชวงศ์ฮั่นเมื่อช่วงทศวรรษ 1970 ในมณฑลหูหนานนั้น ถือได้ว่าเป็นแผนที่กายวิภาคศาสตร์ (anatomical atlas) ฉบับเก่าแก่ที่สุดของโลกที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ตำราดังกล่าวซึ่งมีอายุเก่าแก่ราว 2,200 ปี ได้กล่าวถึงตำแหน่งและลักษณะของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสตร์การฝังเข็มรักษาโรค โดยให้คำอธิบายต่อผู้อ่านด้วยการลากแนวเส้นสมมติหรือ "เส้นเมอริเดียน" (meridian) ผ่านจุดสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเดิมเชื่อว่าเส้นนี้คือทางเดินของลมปราณ (ชี่) มากกว่าจะเป็นอวัยวะอย่างเส้นเลือดหรือเส้นเอ็นจริงๆ รายงานการค้นพบครั้งนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร The Anatomical Record โดยวิเวียน ชอว์ หนึ่งในสมาชิกของทีมวิจัยและผู้สอนวิชากายวิภาคศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบังกอร์ของสหราชอาณาจักรบอกว่า "ตำรานี้มีอายุเก่าแก่กว่าตำราการฝังเข็มใด ๆ ที่เคยพบมา ทั้งเนื้อหาของมันยังถูกอ้างอิงในตำราชั้นหลังอีกด้วย ทำให้เชื่อได้ว่าตำรานี้เป็นพื้นฐานของศาสตร์การฝังเข็มที่ทำกันมาตลอดระยะเวลาสองพันกว่าปี" ชอว์กล่าว "เคยเชื่อกันว่าศาสตร์การฝังเข็มไม่มีพื้นฐานความรู้ทางกายวิภาคที่เป็นวิทยาศาสตร์รองรับ แต่การค้นพบตำรานี้ท้าทายความเชื่อดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นว่าแพทย์แผนจีนรุ่นแรก ๆ ได้กล่าวถึงรายละเอียดของร่างกายมนุษย์ไว้จริง ๆ ดังที่ปรากฏในพงศาวดารฮั่นซูว่า มีการผ่าศพอาชญากรเพื่อให้แพทย์ได้ศึกษา" ที่มาของภาพ,WIKIMEDIA COMMONS คำบรรยายภาพ,ตัวอย่างแผนที่กายวิภาคศาสตร์ของแพทย์แผนจีนที่ใช้กันในปัจจุบัน ตำรานี้ถูกพบในสุสานแห่งเดียวกับที่ฝังร่างของซินจุย คุณหญิงแห่งแคว้นไต้ [...]