คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมเปิดหลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ CU-MEDi (Doctor of Medicine – International Program)

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมเปิดหลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ CU-MEDi (Doctor of Medicine – International Program)

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมเปิดหลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) หรือ CU-MEDi (Doctor of Medicine – International Program) หลักสูตรใหม่ล่าสุดที่จัดขึ้นเป็น “แห่งแรกในประเทศไทย” สานฝันของผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาให้สามารถศึกษาต่อเพื่อเป็นแพทย์วิชาชีพได้

prcu1305631

โดย ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ ผู้อำนวยการหลักสูตร และผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นหลักสูตรใหม่ ที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ เนื้อหาการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ

โดยความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โรงพยาบาลในเครือสภากาชาดไทย และสถาบันชั้นนำในต่างประเทศ ซึ่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งเป้ารับนิสิตแพทย์ในหลักสูตรนี้ จำนวน 40 คนต่อปี หลังจากที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ประชาสัมพันธ์หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตนานาชาติออกไป ก็ได้รับการตอบรับจากผู้ที่สนใจเป็นจำนวนมาก

• คุณสมบัติของผู้ที่จะสามารถเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรฯ นี้ได้ มีดังนี้ …
– ไม่จำกัดอายุ เพศ เชื้อชาติ
– จบการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่จำกัดสาขา หรือเป็นผู้ที่จะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีภายใน พ.ศ. 2564
– สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในระดับดี โดยมีผลคะแนนสอบวัดความสามารถ TOEFL (Internet-based) ไม่ต่ำกว่า 85 หรือ IELTS (Academic) ไม่ต่ำกว่า 7
– มีผลคะแนนสอบ Medical College Admission Test (MCAT) ซึ่งคือการสอบวัดความรู้ทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น

• เอกสารประกอบเพิ่มเติมเพื่อยื่นต่อคณะกรรมการคัดเลือก ดังนี้ …
1. หนังสือแนะนำตัว (Statement of purpose)
2. Curriculum Vitae (CV)
3. จดหมายแนะนำ (Letter of Recommendation) 2 ฉบับ

การเรียนการสอนหลักสูตรแพทยศาสตร์ด้วยระยะเวลา 4 ปีนี้ อาจจะดูแปลกใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ในต่างประเทศ มีการยอมรับหลักสูตร 4 ปี ลักษณะนี้อย่างกว้างขวาง สำหรับหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) นี้จะเป็นหลักสูตรผสมผสานที่ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วย มีศักยภาพในการสร้างนวัตกรรม รวมทั้งมุ่งพัฒนาจุดเด่นของแต่ละคนและพัฒนาความเป็นผู้นำ เตรียมความพร้อมในการเป็นแพทย์ในศตวรรษที่ 21 โดยแบ่งการเรียนการสอนเป็น 3 ส่วนหลัก

ระยะที่ 1 : Pre-clerkship
• ในภาคเรียนที่ 1 – 3 จัดการเรียนการสอนที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการผสมผสานการเรียน โดยนิสิตจะได้เรียนรู้ถึงปัญหาของผู้ป่วยตั้งแต่แรก และนำประเด็นปัญหานั้น ไปสู่การอธิบายถึงกายวิภาค และพยาธิสรีรวิทยา โดยเน้นการเรียนกลุ่มย่อย การศึกษาด้วยตนเอง และการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จำลอง ควบคู่กับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยอาจารย์ที่ปรึกษา และยังมีรายวิชาซึ่งเน้นให้นิสิตได้เริ่มทำการวิจัย รวมทั้งสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์อีกด้วย

ระยะที่ 2 : Clerkship
• นิสิตจะได้ฝึกปฏิบัติดูแลผู้ป่วยที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย โดยมีอาจารย์ชาวต่างชาติร่วมในการเรียนการสอนด้วย

ระยะที่ 3 : Externship
• นอกจากฝึกปฏิบัติดูแลผู้ป่วยในประเทศไทยแล้วในระยะสุดท้ายของการเรียน นิสิตจะได้ไปฝึกปฏิบัติงานยังโรงพยาบาลคู่ความร่วมมือชั้นนำในต่างประเทศทั้งในสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 2 เดือน นอกจากนี้ยังมีเวลาอีก เดือน ซึ่งนิสิตจะสามารถเลือกเพิ่มพูนทักษะ หรือศึกษาวิจัยในสาขาที่สนใจ ทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

นับเป็นมิติใหม่ของการศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพหลากหลาย และพร้อมในการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นกำลังหลักของสังคมในระดับสากล

ผู้ที่สนใจสามารถสมัครได้โดยตรงที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดรับสมัครในเดือนม.ค. พ.ศ.2564 จากนั้น จะเข้าสู่กระบวนการสอบสัมภาษณ์ การคัดเลือก และเปิดภาคการศึกษาแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2564 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เว็ปไซต์ https://www.md.chula.ac.th/en/cu-medi-doctor-of-medicine-international-program/
Email: cu-medi@chula.md
โทรศัพท์: +669-5061-1237 (วันจันทร์-วันศุกร์ 08:00-17:00 น. เว้นวันหยุดราชการ)

ที่มา :
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
https://www.isranews.org/article/isranews-pr-news/88652-prcu.html