News |
นักโบราณคดีระบุตำราแพทย์จีน 2,200 ปี เป็นต้นฉบับแผนที่กายวิภาคศาสตร์เก่าแก่ที่สุดของโลก
[vc_row][vc_column][vc_column_text] ที่มาของภาพ,HUNAN PROVINCE MUSEUM คำบรรยายภาพ,ตำราแพทย์ยุคราชวงศ์ฮั่นที่เขียนด้วยน้ำหมึกบนผ้าไหม ให้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของการฝังเข็ม ทีมนักกายวิภาคศาสตร์และนักโบราณคดีจากสหราชอาณาจักรค้นพบว่า บางส่วนของตำราแพทย์จีนโบราณที่เขียนบนผ้าไหมหลายผืน ซึ่งถูกพบในสุสานของครอบครัวขุนนางราชวงศ์ฮั่นเมื่อช่วงทศวรรษ 1970 ในมณฑลหูหนานนั้น ถือได้ว่าเป็นแผนที่กายวิภาคศาสตร์ (anatomical atlas) ฉบับเก่าแก่ที่สุดของโลกที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ตำราดังกล่าวซึ่งมีอายุเก่าแก่ราว 2,200 ปี ได้กล่าวถึงตำแหน่งและลักษณะของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสตร์การฝังเข็มรักษาโรค โดยให้คำอธิบายต่อผู้อ่านด้วยการลากแนวเส้นสมมติหรือ "เส้นเมอริเดียน" (meridian) ผ่านจุดสำคัญต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเดิมเชื่อว่าเส้นนี้คือทางเดินของลมปราณ (ชี่) มากกว่าจะเป็นอวัยวะอย่างเส้นเลือดหรือเส้นเอ็นจริงๆ รายงานการค้นพบครั้งนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร The Anatomical Record โดยวิเวียน
News |
นิสสัน นำนวัตกรรมสุดล้ำทางความคิดขั้นสูง วิเคราะห์กายวิภาคนำไปพัฒนาโปรแกรมฝึกซ้อม นักแข่งฟอร์มูล่า อี
[vc_row][vc_column][vc_column_text] บริษัท นิสสัน มอเตอร์ จำกัด เปิดตัวโครงการนวัตกรรมพัฒนากระบวนการทางความคิดขั้นสูง และการวิจัยด้านกายวิภาคศาสตร์ เพื่อฝึกซ้อมให้กับเซบาสเตียน บูเอมี (Sebastien Buemi) และโอลิเวอร์ โรวแลนด์ (Oliver Rowland) นักแข่งรถฟอร์มูล่า อี โครงการดังกล่าวใช้ชื่อว่า Nissan Brain to Performance ใช้การถ่ายภาพสมองขั้นสูง และการวิเคราะห์เพื่อกำหนดลักษณะเฉพาะทางกายวิภาคของนักแข่งมืออาชีพ และนำไปพัฒนาการโปรแกรมการฝึกซ้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการคิด และกายวิภาคในการแข่งขัน อี ทอมมาโซ โวลป์ ผู้อำนวยการระดับโลกฝ่ายกีฬาทางรถยนต์ของนิสสันในการแข่งขันฟอร์มูล่า อี (Tommaso
News |
กายวิภาค “กระสือ” ใช้ชีวิตได้จริงหรือไม่ ตามหลักวิทยาศาสตร์!
[vc_row][vc_column][vc_column_text] “ดร.เจษฎา” อธิบายกายวิภาค “กระสือ” หากเป็นสิ่งมีชีวิตไม่สามารถถอดหัวออกไปล่องลอยแล้วต่อกลับไปใหม่ได้ แต่หากเป็นผีก็แล้วแต่จินตนาการ จากกรณีข่าวกระสือในพื้นที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งล่าสุดหน่วยงานราชการออกมายืนยันแล้วว่าเป็นโจรใส่หน้ากากหวังเข้ามาขโมยไก่ชนและทรัพย์สินชาวบ้าน แม้เรื่องดังกล่าวจะมีการตรวจสอบไปแล้ว แต่ความเชื่อเรื่องกระสือยังมีการถกเถียงกันอยู่ ล่าสุดเพจ “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์” ของ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อ.ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เกี่ยวกับเรื่องกระสือไว้อย่างน่าสนใจว่า "กระสือ ไม่น่ามีชีวิตอยู่จริง ตามหลัก กายวิภาคศาสตร์ anatomy " โดยระบุว่า ไหนๆ ช่วงนี้เค้ากลับมาฮิตคุยเรื่องผีกระสือกันอีกแล้ว ขนาดถกเถียงกันทางฟิสิกส์ ว่ากระสือใช้พลังงานแบบไหนถึงสามารถลอยตัว บินได้ พร้อมไฟแว้บๆ ด้วย ก็ขอแจมด้วยมุมมองทาง "ชีววิทยา"
News |
อาจารย์ใหญ่’ช่วยทำให้วงการสัตวแพทย์ไทยก้าวหน้า
[vc_row][vc_column][vc_column_text]นิสิตสัตวแพทย์ได้รับคุณประโยชน์ในการศึกษาด้ายกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์อย่างมากมายมหาศาล เพราะมีอาจารย์ใหญ่ให้ความรู้ ดังนั้นอาจารย์ใหญ่จึงมีบุญคุณต่อผู้ที่จะเป็นสัตวแพทย์ในอนาคต เพราะช่วยให้สามารถศึกษาวิจัยขั้นสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสัตว์เลี้ยงได้อย่างดีที่สุด ไลฟ์ วาไรตี สัปดาห์นี้ ดร.เฉลิมชัย ยอดมาลัย นำคุณไปพูดคุยกับผู้บริจาคซากของสัตว์เลี้ยงเพื่อให้นิสิตสัตวแพทย์ใช้ศึกษาเล่าเรียน และสนทนากับนิสิตสัตวแพทย์ที่ยืนยันว่าซากของอาจารย์ใหญ่คือสิ่งที่มีบุญคุณอย่างสูงกับการพัฒนาศักยภาพสัตวแพทย์ คุณวันวิสาข์ พนศิริรัตน์ ผู้บริจาคซากสุนัขเพื่อเป็นอาจารย์ใหญ่ ● สวัสดีครับ ขอบคุณที่มาร่วมรายการกับเราในวันนี้ครับ นำซากของน้องหมาหรือแมวมาบริจาคเป็นอาจารย์ใหญ่ครับ อายุของน้องที่นำมาบริจาคกี่ปีครับ คุณวันวิสาข์ : น้องหมาพันธุ์พุดเดิลค่ะ เขาตายเมื่ออายุ 16-17 ปีค่ะ เขาป่วยมาระยะหนึ่งประมาณ 2-3 ปี ด้วยอาการเกี่ยวกับตับ เราพาน้องมารักษาที่โรงพยาบาลสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับการดูแลรักษาอย่างดี เจ้าหน้าที่ทุกคนมีน้ำใจดีสัตวแพทย์ที่ให้การรักษาก็เอาใจใส่ดูแลน้องหมาดีมาก ให้ความรู้กับเจ้าของด้วยว่าต้องดูแลรักษาพยาบาลน้องหมาอย่างไร เพื่อยืดอายุของน้องหมาให้นานที่สุด และให้เขามีความสุขมากที่สุดแม้จะเจ็บป่วยโรงพยาบาลสัตว์ของเกษตรฯ มีแผนกเฉพาะโรค จึงให้การรักษาได้ตรงกับอาการป่วย
News |
อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา บุญใหญ่ไม่แพ้บริจาคอวัยวะ
[vc_row][vc_column][vc_column_text] นอกจากการบริจาคโลหิตที่ทำกันได้ทุก 3 เดือน จะสามารถต่อชีวิตให้กับผู้ป่วยที่รอรับการรักษา หรือผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุได้แล้ว การบริจาคอวัยวะก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ เมื่อเสียชีวิตไปแล้ว ร่างกายของเรายังมีอวัยวะที่สามารถนำไปต่อชีวิตให้ผู้อื่นได้มากถึง 8 ราย จากอวัยวะส่วนที่เป็นหัวใจ ปอด ตับ ตับอ่อน ไต และลำไส้เล็ก แต่รู้หรือไม่ว่าการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา ก็ได้บุญกุศลที่ใหญ่หลวงไม่แพ้กัน เพราะเป็นสละร่างกายของตนเอง เพื่อให้วงการแพทย์ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษา วิจัย และการรักษาทางการแพทย์ แต่เป็นที่น่าตกใจว่าจากจำนวนผู้แสดงเจตจำนงบริจาคร่างกายหลักหมื่นรายต่อปีนั้น กลับมีร่างกายที่พร้อมสำหรับการใช้ศึกษาทางการแพทย์ของนักศึกษาแพทย์ หรือที่เรียกว่า “อาจารย์ใหญ่” ปีละไม่ถึง 300 รายเท่านั้น! ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าศพของผู้เสียชีวิตที่จะนำมาใช้ในการศึกษานั้น จะต้องมีคุณสมบัติที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาด้วยนั่นเอง ซึ่งในการบริจาคร่างกาย
News |
อาจารย์ใหญ่ ชีวิตหลังความตายในห้องเรียนแพทย์
จุดสิ้นสุดของชีวิตอยู่ตรงไหน? สำหรับคนทั่วๆ ไป มันอาจจะอยู่ตรงที่ลมหายใจสุดท้าย แต่สำหรับคนที่บริจาคร่างกายมาเป็น “อาจารย์ใหญ่“ ความตายเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะมันจะพาคุณไปยังอีกโลกหนึ่ง โลกที่ความตายจะเปลี่ยนคุณเป็น “ผู้ให้” Sanook! News ขอพา “คนเป็น” ไปรู้จักโลกหลังความตายในทางวิทยาศาสตร์ ณ ห้องเรียนกายวิภาค ของนิสิตแพทย์ โรงพยาบาลจุฬาฯ ที่ที่มีตั้งแต่การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย และเรื่องราวหลังความตายของ “อาจารย์ใหญ่” ครูผู้ไร้ชีวิต
News |
สุดยอด! นศ.จีนจดเลคเชอร์ละเอียด วาดรูปกายวิภาคสวยเหมือนของจริง
นักศึกษาหญิงแพทย์แผนจีนจดเลคเชอร์กายวิภาค โครงสร้าง อวัยวะ ระบบการทำงานของร่ายกายมนุษย์ด้วยการวาดรูป ฝีมือประณีตสวยราวของจริงจนชาวเน็ตทึ่ง เว็บไซต์ข่าวประเทศจีนรายว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ภาพสมุดจดเลคเชอร์กายวิภาคของเฝิง เยี่ยนเฟย (冯燕飞) นักศึกษาหญิงชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยแพทย์แผนจีนเจ้อเจียง กลายเป็นที่กล่าวขวัญมากและถูกพูดถึงไม่น้อยในสังคมออนไลน์ของจีน ซึ่งสมุดเล่มดังกล่าวไม่เพียงแค่มีเนื้อหาที่ละเอียด เป็นระเบียบเข้าใจง่าย แต่ยังมีการวาดรูปประกอบแจกแจงรายละเอียดโครงสร้างส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ที่เธอวาดเองด้วย และแต่ละรูปก็ประณีตสวยคล้ายของจริงมากจนชวนตะลึง
News |