ประวัติชมรมกายวิภาคศาสตร์แห่ง ประเทศไทยโดยสังเขป
แนวความคิดในการตั้งชมรมกายวิภาคศาสตร์ของประเทศ ไทย เกิดขึ้นตั้งแต่ยังมีแผนกวิชากายวิภาคศาสตร์ของคณะแพทยศาสตร์เพียงสามแห่ง คือ แผนกวิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล,แผนกวิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แผนกวิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งเตรียมนักศึกษาแพทย์สำหรับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งทุกคณะดังกล่าวสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น
ชมรมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจัดการประชุมวิชาการปีละครั้ง โดยภาควิชากายวิภาคศาสตร์ต่าง ๆ ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ (การประชุมครั้งที่ 16 กำหนดในเดือนเมษายน 2536) การประชุมวิชาการทำให้นักกายวิภาคศาสตร์ของประเทศไทย มีโอกาสพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นความ เข้าใจและช่วยเหลือกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานของความก้าวหน้าของวิชากายวิภาคศาสตร์และภาควิชากายวิภาค ศาสตร์ของประเทศไทยต่อไป
(อ้างอิงจาก เอกสารการประชุม วิชาการกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 27, 28-30 เมษายน 2536 ณ โรงแรมโกลเด้นแซยด์ อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี)
ต่อมาในการประชุมวิชาการกายวิภาคศาสตร์ ครั้งที่ 26 พ.ศ. 2546 สมาชิกชมรมกายวิภาคศาสตร์ ได้เห็นชอบให้คณะกรรมการบริหารชมรมฯ ซึ่งมี รศ. ดร. กิตติศักดิ์ ศรีพานิชกุลชัย เป็นนายกชมรมฯ ในขณะนั้น ไปดำเนินการจัดตั้งเป็นสมาคม โดยมีสำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ ณ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546 คณะกรรมการบริหารชมรมฯ จากการดำเนินการโดย รศ.ดร. สุขุมาล จงธรรมคุณ จึงได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเป็นสมาคมกายวิภาคศาสตร์ (ประเทศไทย) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อได้ดำเนินการจดทะเบียนสมาคมต่อนายทะเบียนสมาคมประจำกรุงเทพมหานครแล้ว สมาคมฯ ได้ประกาศรับสมัครสมาชิกโดยมีบุคลากรจากสถาบันต่างๆ จากทั่วประเทศสนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกจำนวนมาก สมาชิกประกอบด้วยคณาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ ข้าราชการ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยต่อมาสมาชิกสมาคมฯ ได้ลงมติเลือก ศาสตราจารย์ นพ.ดร. สรรใจ แสงวิเชียร เป็นนายกสมาคมกายวิภาคศาสตร์ (ประเทศไทย) เป็นท่านแรก และบริการสมาคมฯ ในระหว่าง พ.ศ. 2547-2548
(อ้างอิงจาก เอกสารการประชุมวิชาการกายวิภาคศาสตร์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16, 28-30 เมษายน 2536 ณ โรงแรมสวนบวกหาด อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี)
เมื่อที่ประชุมรับรองระเบียบของชมรมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทยแล้ว คณะกรรมการได้เชิญชวนสมาชิกฯ ให้ออกแบบตราชมรมกายวิภาคศาสตร์ ซึ่งสมาชิกจากทุก ๆ สถาบันได้ออกแบบตราชมรมและส่งมาประกวดจำนวนมาก ในที่สุดที่ประชุมได้ลงมติให้ใช้ตราชมรม ซึ่งออกแบบโดย ศ.นพ. ภูเก็ต วาจานนท์ เป็นตราของชมรมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย
ความเป็นมาของตรา ชมรมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย
วันที่ 13 มิถุนายน 2521 สมาชิกลงมติเลือก ศจ.นพ. สุด แสงวิเชียร เป็นนายกชมรมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทยเป็นท่านแรก ศจ.นพ. วิเชียร ดิลกสัมพันธ์ เป็นอุปนายก ผศ.นพ.ม. ร.ว. วีรพันธุ์ ทวีวงศ์ เป็นเลขานุการ
การตั้งชมรมกายวิภาคศาสตร์ ชะงักไป 17 ปี จน พ.ศ. 2520 ศจ.พญ. ถนอมฤดี ภูมิภักดิ์ หัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ได้ปรึกษากับ ศจ.นพ. วิเชียร ดิลกสัมพันธ์และ ศจ.นพ. สุด แสงวิเชียร ในการรื้อฟื้นแนวความคิด เรื่องชมรมกายวิภาคศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง จึงได้เชิญหัวหน้าภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทย ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎ เกล้า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะ ทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งคณาจารย์ทั้งสิ้น 25 ท่าน มาประชุมที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทย ศาสตร์ศิริราชพยาบาล เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2521 ที่ประชุมมีมติว่าถึงเวลาแล้วที่จะก่อตั้งชมรมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย จึงตั้งกรรมการชั่วคราวและประชุมร่างข้อบังคับของชมรมในวันที่ 30 มีนาคม 2521 เมื่อร่างข้อบังคับแล้วจึงเปิดรับสมาชิก มีอาจารย์กายวิภาคศาสตร์ สมัครเป็นสมาชิกครั้งแรก 80 คน
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ศจ.นพ. สุด แสงวิเชียร หัวหน้าแผนกวิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เชิญ ศจ.นพ. บัณเย็น ทวิพัฒน์ หัวหน้าแผนกวิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ ดร. กำแหง พลางกูร หัวหน้าแผนกวิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมทั้งคณาจารย์ในแผนกวิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล การประชุมครั้งนั้นมีเป้าหมายว่า วันหนึ่งข้างหน้าจะสามารถตั้งชมรมกายวิภาคศาสตร์แห่งประเทศไทย